นายวรภพ วิริยะโรจน์สภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล ได้ลุกขึ้นและกล่าวต่อประธานรัฐสภา ถึงกรณีการแถลงนโยบายของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่ให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการรายเล็กรายย่อยน้อยเกินไปมาก พร้อมเสนอให้รัฐบาลนำไปพิจารณาปรับปรุงให้เหมาะสม ทั้งที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจมานานก่อนโควิด-19
จึงมีความกังวลว่ารัฐบาลมองวิกฤตเศรษฐกิจเป็นภาพกว้าง คิดแค่เพียงแค่การกระตุ้นด้วยการแจกเงินเพียงครั้งเดียวจะสามารถฟื้นเศรษฐกิจได้ แต่ไม่ยอมลงลึกดูในรายละเอีดด ซึ่งอาจแก้ปัญหาไม่ตรงจุด
ครม.เศรษฐา แถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา วันแรก 11 ก.ย. 2566
แถลงนโยบายรัฐบาล: “จุรินทร์” ฟาด 10 นโยบาย “เศรษฐา” ไม่ตรงปก มาตรฐานสวนทางส่วนสูง
แถลงนโยบายรัฐบาล : "ศิริกัญญา" ซัด ครม.เศรษฐา ไม่มีจีพีเอส ไร้หนทาง-กรอบเวลา
ต่อมา นายวรภพ จึงอภิปรายใน 5 ประเด็นให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นเพื่อนำเสนอต่อรัฐบาล
1.สร้างแต้มต่อให้รายย่อยแข่งกับกลุ่มทุนใหญ่ โดยทบทวนเงื่อนไขนโยบายเศรษฐกิจเพื่อให้ผลประโยชน์และมูลค่าทางเศรษฐกิจเข้ากระเป๋า ผู้ประกอบการรายเล้ก รายน้อยมากขึ้น โดยเสนอให้เปลี่ยนเงื่อนไขเงินดิจิทัล 10,000 บาท จากเดิมใช้ได้ในระยะ 4 กิโลเมตร เปลี่ยนเป็นให้ใช้ได้เฉพาะร้านรายย่อย หรือ เอสเอ็มอีเท่านั้น เพราะหากจุดประสงค์คือต้องการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการรายย่อยจะเป็นกลุ่มที่ทำให้เม็ดเงินกระจายไปได้เร็วและทุกพื้นที่ ตามนโยบาย
หากต้องการเห็นเม็ดเงินสะพัด เห็นเงินหมุนเงินหลายรอบ การหมุนเงินกับรายย่อยตอบโจทย์กับมากกว่า เพราะหากได้เงินวันนี้ พรุ่งนี้ก็ต้องไปทำทุนซื้อของแล้วทันที เกิดการหมุนเงินในระบบเร็วกว่านายทุน หรือ รายใหญ่ที่ต้องมีแผนทางธุรกิจการทำงบประมาณต่างๆ จึงอยากเสนอให้ การเพิ่มแต้มต่อให้รายย่อยเป็นหนึ่งในนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลไปเลยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
รวมถึงการสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาอุดหนุนร้านเล็ก ร้านน้อย เช่น โครงการหวยใบเสร็จเอสเอ็มอี ซื้อของรายย่อยลุ้นเงินล้าน หรือการกำหนดแต้มต่อให้ร้านค้ารายย่อย เป็นโบนัส 20-30% เพื่อจูงใจให้คนหันมาอุดหนุนรายย่อยมากขึ้น ดีกว่าให้เม็ดเงินไหลไปหานายทุนใหญ่หมด
2. เข้าถึงสินเชื่อของกลุ่มเอสเอ็มอี นายวรภพ นำข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการการปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอี พบว่า ลดลง 2% ขณะที่สินเชื่อกลุ่มทุนใหญ่เพิ่มขึ้น 5% สะท้อนให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมในการแข่งขัน เมื่อเงินทุนสินเชื่อในระบบไหลไปกองอยู่กับกลุ่มทุนใหญ่ขณะที่ทุนของเอสเอ็มอีน้อยลงเรื่อยๆ เป็นความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้นเนื่อยๆ และเป็นแบบนี้มากนาน 6 ปีติดต่อกันก่อนโควิด-19
ซึ่งในความเป็นจริงสิ่งที่เอสเอ็มอี คาดหวัง คือการเพิ่มวงเงินค้ำประกัน ซึ่งเดิมที่นโยบายของพรรเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลเหมือนกันคือ งบประมาณ 3 หมื่นล้านบาทสำหรับเป็นวงเงินค้ำประกันให้กับเอสเอ็มอีแต่วันนี้กลับไม่มีในการแถลงนโยบาย จึงอยากสนับสนุนให้เกิดขึ้นได้จริง
เราจะได้เห็นการเข้าถึงสินเชื่อเอสเอ็มอีเข้าระบบได้ในรัฐบาลนี้หรือไม่ เพราะไม่เช่นนั้นก็จะนำไปสู่ปัญหาหนี้นอกระบบผมไม่แน่ใจว่ารัฐบาลนี้วิเคราะห์วิกฤตเศรษฐกิจไว้วิกฤตแค่ไหน เพราะหากไม่สนใจกลุ่มเอสเอ็มอีต่อให้รัฐบาลเติมเงินเข้าในระบบมากเท่าไหร่ โอกาสที่รายย่อยจะเข้าถึงเม็ดเงินเหล่านั้นเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนมาสั่งซื้อของต่อยอดจากเม็ดเงินใหม่ๆ ก็จะไม่ได้เห็นสุดท้ายเงิน หนึ่งหมื่น มูลค่าเศรษฐกิจก็กลับเข้ากระเป๋าเจ้าสัวอยู่ดี
ประกาศแจ้งจ่ายเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด "เข้าบัญชี 18 ก.ย.2566" แน่นอน
ส่องสีใหม่ "iPhone 15" และ "iPhone 15 Pro" ก่อนเปิดตัวกันยายนนี้
ประกาศรายชื่อวอลเลย์บอลหญิงไทย "นุศรา" นำทัพชุดลุยศึกคัดโอลิมปิก 2024