ท่ามกลางสงครามระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ฮามาสที่ยังคงรุนแรง อีกหนึ่งสถานการณ์ที่บรรยากาศคุกรุ่นไม่แพ้กันคือการประท้วงสนับสนุนทั้งสองฝ่ายที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก
โดยมีทั้งฝ่ายที่สนับสนุนอิสราเอลที่ประณามความโหดร้ายของกลุ่มฮามาส เรียกร้องให้มีการแปล่อยตัวประกัน ขณะที่ฝ่ายสนับสนุนปาเลสไตน์ก็เรียกร้องให้มีการปลดปล่อยดินแดน รวมถึงยุติการโจมตีฉนวนกาซา
เพนตากอนส่งที่ปรึกษาทางทหาร-ระบบป้องกันภัยทางอากาศ ให้อิสราเอล
อิสราเอลส่งทหารจู่โจมแบบจำกัดวงในฉนวนกาซา
กลุ่มฮามาสปล่อยตัวประกันเพิ่มอีก 2 คน เป็นหญิงชราชาวอิสราเอล
เป็นที่ทราบกันว่า ชาวอิสราเอลส่วนใหญ่เป็นชาวยิว จึงเป็นเรื่องที่น่าตกใจว่า ไม่ได้มีเพียงชาวมุสลิมหรือประชาชนในกลุ่มประเทศอาหรับเท่านั้นที่มีท่าทีสนับสนุนชาวปาเลสไตน์ เพราะมีชาวยิวบางกลุ่มที่ออกมาประณามการกระทำของอิสราเอลเช่นกัน
จากกลาสโกว์ถึงลอนดอน ปารีสถึงบาร์เซโลนา ชาวยิวหลายคนได้เข้าร่วมการชุมนุมสนับสนุนชาวปาเลสไตน์ เรียกร้องสิทธิให้กับผู้คนที่อาศัยอยู่ภายใต้การยึดครองของอิสราเอลมาหลายชั่วอายุคน
หนึ่งในนั้นคือ โจนาธาน โอฟีร์ นักดนตรี วาทยกร และนักเขียนชาวยิว ซึ่งกล่าวว่า เสียงของชาติตะวันตกที่ประณามกลุ่มฮามาส และสนับสนุนสิทธิของอิสราเอลในการตอบโต้ เป็นเหมือนสัญญาณอันตราย
“นั่นคือไฟเขียวสำหรับอิสราเอลที่จะสังหารหมู่ครั้งใหญ่กว่าการสังหารหมู่ที่พวกเขาแก้แค้น” เขากล่าว
โอฟีร์เกิดในอิสราเอล แต่อาศัยอยู่ในกรุงโคเปนเฮเกน เมืองหลวงของเดนมาร์ก เป็นหนึ่งในชาวยิวจำนวนมากในยุโรปที่วิพากษ์วิจารณ์นโยบายของอิสราเอล และได้เข้าร่วมการประท้วงเพื่อต่อต้านการโจมตีฉนวนกาซา
“อิสราเอลอ้างชาวยิวเป็นทรัพย์สินของชาติ และใช้เราเป็นอาวุธ ทั้งในเชิงประชากรในการต่อสู้กับผู้ที่ไม่ใช่ชาวยิว และโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวปาเลสไตน์ และในเชิงอุดมคติ ในฐานะตัวแทนโดยกำเนิดของรัฐยิว” โอฟีร์กล่าวคำพูดจาก สล็อตฝ
เขาเสริมว่า “คำกล่าวอ้างนั้นทำให้เราเป็นเหมือนโล่มนุษย์ของรัฐ ในขณะที่พวกเขาโจมตีชาวปาเลสไตน์ด้วยสถานะของผู้ตั้งถิ่นฐาน-อาณานิคม ไม่ว่าจะเป็นผ่านการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อย่างต่อเนื่อง โดยการล้อม หรือผ่านการสังหารหมู่”
ด้าน นามา ฟาร์จูน ซึ่งเติบโตในกรุงเยรูซาเลมเป็นส่วนใหญ่ ก็เป็นชาวยิวอีกคนหนึ่งที่สนับสนุนปาเลสไตน์ โดยเธอเรียกตัวเองว่าเป็น “ชาวยิวที่ต่อต้านไซออนิสต์” (กลุ่มสนับสนุนการสร้างรัฐยิว)
เธอออกจากอิสราเอลตั้งแต่เดือนมกราคม 2001 ปัจจุบันเป็นคุณแม่ลูกสอง อาศัยอยู่ที่ชานเมืองบาเลนเซีย ประเทศสเปน
“ฉันออกจากอิสราเอลเพราะฉันไม่สามารถทนกับการเป็นพลเมืองอิสราเอลที่ได้รับสิทธิพิเศษในรัฐที่เหยียดเชื้อชาติได้” ฟาร์จูนกล่าว และบอกว่า เธอรู้สึกโกรธอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันกับ “การยึดครองดินแดนและการเลือกปฏิบัติต่อชาวปาเลสไตน์”
ฟาร์จูนบอกว่า การโจมตีอิสราเอลของฮามาสทำให้เธอ “เสียใจอย่างยิ่ง … ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานแสนสาหัส” แต่เธอเสริมว่า “ฉันเชื่อว่าเหตุการณ์โศกนาฏกรรมในปัจจุบันเป็นผลโดยตรงจากการละเมิด การอดกลั้น ความรุนแรง และการกดขี่ที่รัฐอิสราเอลดำเนินการมานานหลายปี”
การที่ชาวยิว รวมถึงชาวยิวอิสราเอล ออกมาประณามพฤติกรรมของอิสราเอลต่อชาวปาเลสไตน์นั้นไม่ใช่ปรากฏการณ์ใหม่ แต่เป็นสิ่งที่เรียกว่า “Israeli Refusenik” เดิมมีความหมายถึงพลเมืองอิสราเอลที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายรับราชการทหารเพื่อประท้วงการปฏิบัติต่อชาวปาเลสไตน์
โจเซฟ อาบีลาห์ นักไวโอลินชาวออสเตรียโดยกำเนิดชาวออสเตรีย ได้รับการจดจำว่า เป็นบุคคลแรกในอิสราเอลที่ถูกพิจารณาคดีฐานปฏิเสธที่จะรับราชการในกองทัพอิสราเอล เกิดขึ้นเมื่อปี 1948 หรือเพียงไม่กี่เดือนหลังจากการสถาปนารัฐยิว จุดยืนของเขาปูทางให้เกิดชาวอิสราเอลที่ปฏิเสธอิสราเอลสืบต่อมาเรื่อย ๆ
ทั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่ชาวยิวจะออกมาสนับสนุนปาเลสไตน์อย่างเปิดเผยต่อสาธารณะ และประณามอิสราเอลทั้งที่ประกาศตัวเองว่าเป็นชาวยิว ดังนั้น จึงมีการใช้บางหนทางที่เป็นไม้อ่อน ในการแสดงเจตจำนงว่าไม่เห็นด้วยกับอิสราเอล
หนึ่งในหนทางนั้นคือ แคมเปญ “เสียงชาวยิวเพื่อสันติภาพ” ซึ่งเรียกร้องให้อิสราเอลยุติการโจมตีฉนวนกาซาโดยทันที มีการรวบรวมลายเซ็นมากกว่า 1,300 ลายเซ็นจากพลเมืองอิสราเอลที่อาศัยอยู่ในอิสราเอล ปาเลสไตน์ และต่างประเทศ
โอฟีร์บอกว่า “ในฐานะชาวยิว และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะชาวยิวอิสราเอล ผมรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ของผมที่จะบอกว่าสิ่งที่อิสราเอลทำไม่ใช่สิ่งที่ผมต้องการ และผมจะต่อสู้กับมัน”
เขาเสริมว่า “เพราะว่าเสรีภาพ ความยุติธรรม และความเท่าเทียมกันสำหรับชาวปาเลสไตน์เป็นสิ่งจำเป็น และหากความจำเป็นนั้นไม่เพียงพอ มันไม่เพียงแต่ทำร้ายพวกเขาเท่านั้น แต่ยังหลอกหลอนชาวยิวอีกด้วย … เราต้องทำงานเพื่ออนาคตร่วมกันโดยที่เราจะไม่ทำร้ายกัน เราต้องสร้างวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ อำนาจสูงสุดของชาวยิวจะไม่บรรลุผลเช่นนั้น”
เรียบเรียงจาก Al Jazeera
ภาพจาก
Rodrigo Oropeza / AFP
Piero CRUCIATTI / AFP
ครม.เคาะ วันหยุดปีใหม่ ตั้งแต่ 29 ธ.ค.66-1 ม.ค. 67
แพร่ประกาศ "โรคต้องห้าม" เป็นข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช.
แรงไม่หยุดฉุดไม่อยู่ “สัปเหร่อ” โกยรายได้ทะลวง 500 ล้านบาท ในเวลา 2 สัปดาห์